หน้าเว็บ

วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ประวัติความเป็นมาประเพณีชักพระ



ประวัติ

           พุทธประวัติกล่าวว่า วันที่พระองค์เสด็จลงมาจากสวรรค์สู่มนุษย์โลก หลังจากเสด็จขึ้น ไปเทศนา โปรดพระพุทธมารดา  ณ สวรรค์ชั้นดุสิตตลอดพรรษา คือ  วันขึ้น  15 ค่ำ เดือน 11  อันเป็นวันสุดท้ายของพรราทรงเสด็จลง มาตามบันไดแก้ว,บันไดทอง, บันไดเงิน  บันไดทั้ง 3 ทอดลงมายังประตูนครสังกัสสะ  เมื่อเสด็จถึงประตูเมืองเป็นเวลาเช้าตรู่ของวันแรม 9 ค่ำ เดือน 11  อันเป็นวันออกพรรษาพอดี  พุทธบริษัททั้งหลายทราบข่าวต่างมาคอยต้อนรับเสด็จอย่างเนืองแน่น  เพื่อจะคอยตักบาตร  ถวายภัตตาหาร  ดอกไม้ธูปเทียน  ซึ่งเป็นที่มาของประเพณี  “ตักบาตรเทโว”  ซึ่งบางคนไม่สามารถเข้าถวายภัตตาหาร  เพราะมีคนอย่างล้มหลามที่จะถวายภัตตาหาร  ด้วยศรัทธาแรงกล้าของผู้ที่เข้าไม่ถึงพระพุทธองค์จึงเกิดประเพณีทำขนมขึ้นชนิดหนึ่ง  ห่อด้วยใบไม้ (ใบจาก ใบเตย)เรียก “ขนมต้ม”หรือห่อต้ม หรือห่อปัดก็เรียก สำหรับโยนและปาจากระยะห่างเข้าไป ถวายได้ ซึ่งความจริงอาจเป็นความสะดวกในการนำพาไปทำบุญ สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานและสะดวก ต่อการนำ พาไปกินเวลาหิวขณะลากพระ  ตลอดจนการขว้างปาเล่นกัน (เรียกซัดต้ม)  ดังนั้นขนมต้มจึงถือเป็นขนมหลัก  เป็นเอกลักษณ์ประจำเทศกาล  ดังมีคำกล่าวว่า  “เข้าษากินตอก  ออกษากินต้ม”  คือ  ขนมประเพณีประจำเทศกาลเข้าพรรษา  คือ  ข้าวตอก  ส่วนเทศกาลออกพรรษา  คือ  ขนมต้ม ถือปฏิบัติมาแต่โบราณวันขึ้น15ค่ำเดือน11เป็นการทำบุญออกพรรษาตามปกติบางวัดมีการ ตักบาตรหน้า พระลากเพิ่มเป็นพิเศษ  เรียก  “ตักบาตรหน้าล้อ”  ในตอนกลางคืนระหว่างที่มีพิธี  “คุมพระ”  (ประโคมพระลาก) อีกด้วยพอถึงวันแรม 11ค่ำเดือน11อันเป็นวันออกพรรษาหลังจากทำบุญที่วัดตาม ปกติแล้วจะมีการลากพระต่ออีก 1-2 วัน  อย่างสนุกสนาน  มีเพลงลากพระร้องเล่นอีกด้วย



การเตรียมเรือพระ
          การเตรียมรถพระหรือรถชักพระทางบก  ได้ตกแต่งรถพระกันอย่างประณีตสวยงาม  โดยเฉพาะรถพระที่แต่งเป็นเรือพระตั้งอยู่บนรถยนต์  ซึ่งประดิษฐ์เป็นรูปพญานาค 2 ตัว  ประดับอยู่ด้านข้างรถยนต้านละ1ตัวสีสันของเรือพระนั้นเด่นสะดุดตาตรงกลางลำเรือก็จะ เป็นที่ตั้งของพระมณฑปภายในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และที่หัวเรือแต่ละลำ ก็จะมีเชือกขนาดใหญ่ ยาวประมาณ30เมตร ให้ผู้ชักลากตลอดจนผู้มีจิตศรัทธาได้มาออกแรง ลากจูงให้เคลื่อนไปตามจุดพิธีต่างๆเรือพระในที่นี้หมายความว่า เป็นรูปเรือแล้วประดิษฐ์เป็น รูปปูชนียสถานที่สำคัญอยู่ในเรือพระซึ่งอยู่บนรถยนต์  แล้วทำพิธีชักพระหรือลากพระไปทางถนน  ถือว่าเป็นพิธีแห่ชักพระทางบกหรือพิธีชักพระทางบก แต่ทว่าพิธีการและกรรมวิธีทั้งหมดให้รวมกันเรียกว่า  เรือพระ ซึ่งถือเป็นการเรียกตามชาดกในพุทธกาล โดยมีประเพณีแห่เรือพระ หรือประเพณีแห่เรือพระใน ทางน้ำ  ถือเป็นประเพณีแรกที่มีการแห่พระพุทธรูป


ประเภทของการลากพระ

          1.  ลากพระน้ำ  การลากพระทางน้ำหรือทางเรือ เรียก  “เรือพระ” คือ เอาเรือหลายลำมาเทียบเรียง ขนานผูกติดกันเป็นแพขนาดใหญ่ ประดับ ตกแต่งอย่างประสาทมณฑปอย่างวิจิตร  แห่แหนมีเครื่องดนตรีประโคมไฟตาม แม่น้ำ ลำคลอง ทะเลสาป






          2. ลากพระบกการลากพระทางบกเรียก“รถพระ”



          คือการอัญเชิญพระพุทธรูปซึ่งประดับคล้ายหัวเรือท้ายเรือ รูปพญานาค และหางนาคอย่างสวยงาม  ลากพระบกมีวิธีการลากเหมือนกับลากพระน้ำ จะต่างกันตรงที่เส้นทางการเดินเรือเท่านั้น  การลากพระน้ำจะสนุกกว่าการลากพระบก